วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาและตัวอย่างนวัตกรรมการเรียนการสอน

        ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นหัวข้อที่จะช่วยอธิบายองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงขอบเขต หรือกรอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาที่ระบุว่าบุคคลผู้ที่ศึกษาด้านนี้ หรือปฏิบัติงานในวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาต้องศึกษาปฏิบัติงาน และต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาชีพในด้านใดบ้าง ดังนั้นการศึกษาขอบข่ายงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นกรอบในการพัฒนามาตรฐานงานเทคโนโลยีการศึกษา

แนวคิดการแบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษามี 2 แนวคิด ดังนี้

1.สมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association for Educational Communications and Technology :AECT) ได้ใช้การแบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตามที่ Seels and Richey (1994) ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย  5  ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายใหญ่แยกเป็น  4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด  20 ขอบข่าย  ดังนี้ 
1) การออกแบบ (design)  คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
1.1 การออกแบบระบบการสอน  (instructional systems design)  เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร  การพัฒนา (development)  คือกระบวนการสร้าง ผลิตสื่อวัสดุการสอน  การนำไปใช้ (implementation) คือการใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการสอน และการประเมิน (evaluation) คือกระบวนการในการประเมินการสอน
1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสาร   เน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้  ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน
1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน    ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน  การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน
2) การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ  ประกอบด้วย
2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่นหนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่น ๆ
2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)  เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่าง ๆ ด้วยเสียง และภาพ  โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง  ความคิดที่เป็นนามธรรม  เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับกับผู้เรียน
2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer-based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพเซสเชอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล  ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน  โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์  การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย
2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์
3) การใช้ (Utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย
3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน
3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย  รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม
3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ  (implementation and institutionalization)  เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่อง  และใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ
3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
4) การจัดการ (management)  เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา  ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ  ประกอบด้วย
4.1 การจัดการโครงการ (project management)  เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน
4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) ) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ
4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ  รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
4.4 การจัดการสารสนเทศ (information management) ) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
5. การประเมิน (evaluation)  กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประกอบด้วย
5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis)  เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุดโดยการใช้ข้อมูลต่าง ๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ
5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion-referenced measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation)  มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป
5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation)  มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป
                                2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยชัยยงค์  พรหมวงศ์  (2537)  ได้กำหนดขอบข่ายงานเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาโดยประมวลออกเป็น 3 ขอบข่าย คือ                           1.ขอบข่ายด้านสาระของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  2.ขอบข่ายด้านภารกิจ และ 3.ขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษา หากพิจาณาเป็นมิติทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  แบ่งได้เป็นขอบข่ายตามแนวตั้ง แนวนอน และแนวลึก  ส่วนรายละเอียดขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  มีดังนี้ 
2.1 ขอบข่ายด้านสาระของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หรือขอบข่ายตามแนวตั้ง ครอบคลุม 7 ด้าน ประกอบด้วย (1)การจัดการ การพัฒนาและการออกแบบระบบทางการศึกษา  (2)พฤติกรรมการเรียนการสอน (3)วิธีการสอน (4) สื่อสารการศึกษา (5) สภาพแวดล้อมทางการศึกษา (6) การจัดการด้านการเรียนการสอน และ(7)การประเมินการศึกษา
2.2 ขอบข่ายด้านภารกิจ หรือขอบข่ายตามแนวนอน  เป็นการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เพื่อภารกิจทางการศึกษามี 3 ด้าน  คือ 
      (1) ภารกิจด้านการบริหาร  
      (2) ด้านวิชาการ  
      (3) ด้านการบริการ
2.3 ขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษา หรือขอบข่ายตามแนวลึก  มีการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษา ด้าน คือ
       (1) การศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา  
       (2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน 
       (3) การฝึกอบรม  
       (4) การศึกษาทางไกล 

ตัวอย่าง นวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา 6 นวัตกรรม คือ
   1. หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่าน                                
   2. การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
   3. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเขียนแผนประสบการณ์
   4. การเรียนแบบ มัลติมิเดีย 
   5. การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอน
   6. บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต วิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมที่ 1:หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่าน
วัตถุประสงค์
      1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านภาษาไทย
      2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน
      3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
      4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการอ่าน
      5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านและรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
      6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ลักษณะ
       หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ  มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย  มีการบรรยายโดยใช้ภาพการ์ตูน  และที่สำคัญเวลาเปิดไปหน้าต่อไปจะมีเสียงดนตรี เช่น  เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในหนังสือการ์ตูน  เป็นต้น

นวัตกรรมที่ 2:การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
วัตถุประสงค์
      1.ผู้เรียนสามารคิดแก้ปัญหาได้คิดอย่างวิจารณญาณ                                         
      2.ใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะ  
      แหล่งเรียนรู้ในที่นี้อาจเป็นแหล่งสารสนเทศใดๆ ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ และบุคคลที่เป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ โดยที่สารสนเทศอาจบันทึกอยู่ในรูปหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และ    อินเทอร์เน็ต สำหรับในปัจจุบันสารสนเทศบนเว็บนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก

นวัตกรรมที่ 3 : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนแผนจัดประสบการณ์
วัตถุประสงค์
      1.ผู้เรียนสามารถบอกการเตรียมตัวก่อนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้
      2.ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้
ลักษณะ
       บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าโดยมีการบรรจุเนื้อหา ชุดคำถาม พร้องเฉลยคำตอบเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและได้รับพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา อย่างเหมาะสมสามารถนำไปปฎิบัติจริงได้

นวัตกรรมที่ 4 :การเรียนแบบมัลติมีเดีย
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย                                                                 
     2. เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูล การเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย  ในด้านสมรรถภาพด้านทักษะในการสื่อสาร
ลักษณะ
     1. มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ช่วยในการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา อันเป็นการเร้าความสนใจ สะดวก ประหยัดเวลา สามารถศึกษาค้นคว้าไว้ตามความสามารถและศักยภาพอย่างไม่จำกัด จะช่วยให้ การเรียนการสอนชีววิทยามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
     2. การกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนการสอนวิชาชีววิทยามากขึ้น เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการสอนในห้องเรียนปกติซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ดีขึ้นทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
     3. เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นหลัก สร้างความสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนตามศักยภาพของตนเองแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้เกิดเจตคติของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
     4. สามารถใช้เรียนเสริมหรือซ่อมเสริมได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ
     5. เป็นการใช้เทคโนโลยีสื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพในการเรียนการสอนนักเรียนจำนวนมากๆได้

นวัตกรรมที่ 5 : การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอน
วัตถุประสงค์
      1. เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ ในการหาคำราชาศัพท์
      2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะ
       เป็นการใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์ให้กับนักเรียนและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์

นวัตกรรมที่ 6 :บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
วัตถุประสงค์
      1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
      2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ลักษณะ
        เป็นการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคนี้ซึ่ง e-Learning นี้ก็จะเป็นเส้นทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดั้งนั้นสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีการศึกษาในหลายๆรูปแบบถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมต่อไปซึ่งเป็นยุคเทคโนโลยี





บรรณานุกรม ชัยยงค์  พรหมวงศ์ . (2537). สัมมนาการวิจัยและทฤษฎีทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี  โรงพิมพ์มหวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  .Seel, Barbara B. and Richey ,Rita C.(1994). Instructional Technology :The Definition and
Domains of the field. Washington,DC : Association for Educational Communications and Technology. 

2 ความคิดเห็น:

  1. Free casino site and bonuses【VIP】best mobile
    Discover the best free casino site and bonuses, mobile casino games, casino games, poker rooms, casino games, jackpots, sports luckyclub.live betting.

    ตอบลบ
  2. Casinos near me | Mapyro
    Closest 이천 출장마사지 Casinos with Casinos with Casino Games. The area is a 당진 출장안마 bit quieter, but is the 동해 출장안마 casino more of a friendly place to play. You'll 평택 출장마사지 find 창원 출장안마 casinos

    ตอบลบ